การเปลี่ยนแปลงกระบวนทรรศน์ทางการศึกษา โดย เซอร์ เคน โรบินสัน ภาพประกอบโดย RSA

ลองชมคลิปนี้กันดูนะครับ



การเปลี่ยนแปลงกระบวนทรรศน์ทางการศึกษา
โดย เซอร์ เคน โรบินสัน
ภาพประกอบโดย RSA

.
ทุกประเทศในโลกเห็นว่า การศึกษาของรัฐต้องปฏิรูป ด้วยเหตุผล 2 ประการ
.
1. ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ เราจะปฏิรูปการศึกษาของเยาวชนให้มีทักษะให้ตรงกับศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร ในขณะที่เราเองก็ไม่อาจทำนายได้เลยว่า เศรษฐกิจในสัปดาห์หน้าจะเป็นอย่างไร ???
.
2. ด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม ทุกประเทศในโลกพยายามหาวิธีที่จะปลูกฝังยีน อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้เด็กๆเพื่อเป็นผู้ส่งผ่านไปยังชุมชนต่างๆของเรา
แล้วเราจะทำได้ยังไง ???
.
ปัญหาก็คือเราจะก้าวไปสู่อนาคตด้วยการเราใช้วิธีเดิมๆ ที่เคยทำในอดีต ด้วยการให้เด็กๆเห็นว่า การไปโรงเรียน ตั้งใจเรียน คะแนนดีๆ เกรดดีๆ จบปริญญา ก็จะได้งานดีๆ แต่
.
ในอนาคตมันไม่ใช่เช่นนั้นแล้วครับ งานดีๆ ไม่ได้วัดกันที่ใบปริญญาอีกแล้ว ใบปริญญาไม่ได้ประกันว่าคุณจะได้ทำงานดีๆ
.
ลูกหลานเรา จะไม่เห็นความสำคัญในส่วนนี้อีกแล้ว แม้ว่าเราจะพยายามตั้งมาตรฐานต่างๆขึ้นมา แต่มันไม่สามารถแก้ได้จริง
.
ระบบการศึกษาปัจจุบันของเรามีปัญหา เพราะนั้นถูกออกแบบและสร้างมาจากตะวันตกในยุคศตวรรษที่ 19 ที่เรียกว่า ยุค Enlightment
.
และสภาวะเศรษฐกิจศตวรรษที่ 18 ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ก่อนช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ยังไม่มีการศึกษาภาครัฐ แต่ก่อนเป็นการศึกษาจากโบสถ์ และสถานศึกษาของศาสนา
.
ในการศึกษาภาครัฐนั้นใช้แนวคิดให้คนเป็นสองกลุ่มคือคนหัวดี กับคนหัวไม่ดี ทั้งสองกลุ่มเมื่อผ่านกระบวนการศึกษาของรัฐจะได้รับสภาวะทางสังคมที่แตกต่างกัน ทั้งความสามารถทางวิชาการ และทางเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่ต้องเป็นทุกข์กับสิ่งนี้
.
เมื่อมันไม่ดีจริง หรืออยู่ผิดที่ก็เลยทำให้สังคมเกิดโรคระบาด เช่นโรค ADHD ความจำสั้น สมาธิสั้น ระบาดไปทั่วทั้งอเมริกา เด็กๆถูกทำได้เพียงการกรอกยารักษาโรค ให้เค้าเฉี่อยชา ด้วยการไม่ให้เค้าสนใจสื่อต่างๆมากมายที่มาคอยกระตุ้นอย่างรุนแรง ทั้ง คอมพิวเตอร์ ไอโฟน สื่อโฆษณา โทรทัศน์หลายร้อยช่อง โดยให้มาโฟกัสที่เรื่องน่าเบื่อในโรงเรียน จึงไม่น่าแปลกใจว่าเด็กของเราจึงเป็นโรคสมาธิสั้นมากขึ้นเรื่อยๆ
.
.
ระบบการศึกษาที่เราใช้เป็นมรดกจากโรงงานอุตสาหกรรม มีการสั่นกระดิ่ง แยกวิชาเรียน เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามวิชาต่างๆ แยกเด็กตามกลุ่มอายุ ซึ่งเหมือนกับการแปะสลากวันที่ผลิตเด็กๆ เหล่านั้น ซึ่งน่าจะใช้ไม่ได้จริงแล้วในยุคของเรา
.
เด็กบางคนอาจทำงานได้ดีเมื่ออยู่ร่วมกันกับเพื่อต่างวัย ต่างอายุ เด็กบางคนก็เก่งในช่วงเวลาของวันที่แตกต่างกัน
.
ทั้งหมดก็เป็นตัวส่งผลต่อความเก่งของเด็ก บางคนเก่งในการทำงานกลุ่มใหญ่ บางคนเก่งกลุ่มเล็ก บางคนเก่งทำงานคนเดียว
.
.
การใช้ข้อสอบเดียวกันประเมินความเก่งของเด็กแต่ละคน คงจะไม่เหมาะสมอีกแล้ว ถ้าเรายังยึดแนวทางให้โรงเรียนที่เป็นมรดกจากโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตสินค้าให้ออกมาเป็นบล้อกเดียวกันทั้งหมด
.
ในอนาคตมันกำลังจะดำเนินไปในทิศทางตรงกันข้าม
.
Divergent Thinking การคิดอย่างอิสระ เน้นปริมาณมากๆ ไม่สนใจว่าผิดหรือถูก ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์ แต่เป็นพื้นฐานการคิดของคนที่จะมีความคิดสร้างสรรค์ มันจะคิดได้จำนวนมาก หลากหลายแบบ ไม่ใช่แค่คำตอบเดียว ในคำถามธรรมดา เช่น คุณคิดว่า คลิปหนีปกระดาษจะสามารถนำไปใช้ได้กี่วิธี คนธรรมดาก็จะได้สัก 10-15 วิธี ในขณะที่บางคนอาจจะได้ถึง 200 วิธี
.
ในงานวิจัยชิ้นนึงที่ทำการทดสอบความเป็นอัจฉริยะด้านการคิดอย่างอิสระ โดยสุ่มคน 1,500 คน พบว่า เด็กอนุบาล ถึง 98% เป็นอัจฉริยะด้านการคิดแบบนี้ ในขณะที่เมื่อเด็กกลุ่มเดิมอายุมากขึ้น อีก 5 ปี และ 10 ปี พบว่า ความสามารถในการคิดเช่นนี้ลดลง เหลือ 50% และ 30% ที่เรามักกล่าวว่าการศึกษาคือการเพิ่มพูนให้มากขึ้น เก่งขึ้น แต่จากการวิจัยชี้ชี้ให้เห็นแล้วว่ามันลดลง
.
ในโรงเรียนครูมักจะบอกว่า อย่าลอกกัน คำตอบอยู่ท้ายหนังสือนะ แต่ห้ามดู แต่ทว่าในชีวิตจริง เด็กๆต้องทำงานร่วมมือกัน ในการทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่มจะทำให้เค้าเรียนรู้ได้ดีกว่าและเติบโตขึ้น ถ้าเราแยกเด็กมาประเมินเด็กทีละคน แล้วละก็ แสดงว่าเราได้ทำการประเมินเค้าโดยแยกออกมาจากการเรียนรู้ตามธรรมชาติเสียแล้ว
.
.
แล้วเราอยากให้โรงเรียนเราเป็นอย่างไร???

Comments