e-Learning: Thailand Perspective
เอามาแบ่งปันกันเพื่อการเรียนรู้
สื่อชิ้นนี้ ทาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ จุสปาโล มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อาจารย์ได้แนะนำให้ให้นักศึกษาได้รู้จักกับ E-Learning จนเกิดความเข้าใจด้วยสื่อการสอนชุดนี้ ให้ทำควบคู่กัน โดยเปิด youtube แล้วดู พาวเวอร์พอยต์ ตามไปด้วยใน object ถัดไป
เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงการศึกษานานหลายปีแล้วจนแยกกันไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร และน่าเป็นห่วงว่าโซลูชั่นที่ถูกนำมาใช้ในหลายรูปแบบจะได้ผลคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน ปมปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในวงการศึกษาบ้านเรา มีความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมแค่ไหน ผู้ใช้มีประสบการณ์และพร้อมที่จะรองรับเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลคุ้มค่าสูงสุดหรือไม่ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การศึกษานั้นถือเป็นการลงทุนระยะยาว หากสิ่งดำเนินอยู่ทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ หรือ ไม่คุ้มค่าก็ควรได้มีการทบทวน ถึงแม้สิ่งที่จะพูดถึงในบทความต่อไปนี้ แม้จะเป็นเพียงแค่จุดเล็กๆ ทว่าผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาควรได้สำเนียก และอย่าได้เพียงแค่มองผ่านเลย
สื่อชิ้นนี้ ทาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ จุสปาโล มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อาจารย์ได้แนะนำให้ให้นักศึกษาได้รู้จักกับ E-Learning จนเกิดความเข้าใจด้วยสื่อการสอนชุดนี้ ให้ทำควบคู่กัน โดยเปิด youtube แล้วดู พาวเวอร์พอยต์ ตามไปด้วยใน object ถัดไป
อีเลิร์นนิงกับ การศึกษา
“e-Learning” คงไม่ใช่คำที่แปลกหูอีกต่อไป เนื่อจากในช่วงไม่กี่ปีมานี้สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคธุรกิจได้นำการเรียนการสอนแบบ e-Learning มาใช้กันมากขึ้น เพราะข้อดีที่สามารถเรียนรู้ได้ ทุกที่ ทุกเวลา เรียนได้ทุกคน เป็นมิติใหม่ในปัจจุบันทางการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ที่เติมเต็มการเรียนการสอนในห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก การนำข้อดีของเทคโนโลยีมาผสมผสานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิตจึงน่าจะเป็นวิธีการที่น่าสนใจและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างทั่วถึงและเสมอภาคกัน และผลักดันให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศ
อีเลิร์นนิง(e-Learning ) คืออะไร
e-Learning เกิดจากคำศัพท์ 2 คำที่มีความหมายในตัวเองได้แก่E ซึ่งมาจาก อิเล็กทรอนิกส์(Electronic)ที่มีความหมายในเชิงของความรวดเร็วโดยทำงานในระบบอัตโนมัติ ส่วนคำว่า เลิร์นนิง(Learning) ซึ่งหมายถึงการเรียน การเรียนรู้ หรือการเรียนการสอน เมื่อผสมกันจึงเป็น Electronic Learning หรือ E-Learning หมายถึงการเรียนรู้ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็คือกระบวนการเรียนรู้ทางไกลอย่างอัตโนมัติผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) เช่น ระบบบริหารจัดการ ซีดีรอม เครือข่ายอินทราเน็ต เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต ระบบเสมือนจริง (Virtual Reality System) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้เท่าเทียมกัน โดยสามารถใช้ E-Learning ได้ทั้งการศึกษาในสถานศึกษาและการฝึกอบรมในสถานประกอบการมากกว่าการเรียนรู้แบบปกติในชั้นเรียน
บทบาทของ อีเลิร์นนิง
ในปัจจุบัน e-Learning เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาในประเทศไทยมากขึ้นเนื่องจากความจำเป็นในการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง การเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี หลายองค์กรทั้งในภาคธุรกิจและภาคการศึกษาเริ่มนำ e-Learning มาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร ทางบริษัทมีนโยบายให้พนักงานเข้าไปศึกษาข้อมูลและระบบการทำงานจาก e-Learning หลังจากนั้นจะมีการทดสอบเพื่อประเมินว่าพนักงานแต่ละคนได้เข้าไปศึกษาตามที่มอบหมายหรือไม่ ซึ่งมีผลต่อการประเมินการทำงานด้วย สำหรับสถาบันการศึกษาบางแห่งก็ได้มีการใช้ e-Learning เพื่อเสริมการเรียนการสอนในแบบปกติผู้เรียนจะสามารถเข้าไปเรียนรู้บทเรียนได้ในรูปแบบต่างๆ อาทิ เนื้อหาที่เป็นตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอบันทึกการสอน ฯลฯ ซึ่งสามารถเปิดเรียนซ้ำไปซ้ำมาได้จนกว่าจะเข้าใจหรือหากยังมีข้อสงสัยจะติดต่อเพื่อคุยกับอาจารย์ผู้สอนได้ นอกจากนี้ยังมีการสั่งงานหรือการบ้านทางอีเมลล์อีกด้วย การเรียนแบบ e-Learning เป็นการเพิ่มสีสันให้การเรียนมีความน่าสนใจ สามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นเวลาใดหรือเรียนจากสถานที่ใดจะใช้เวลามาก-น้อยเพียงใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนตามอัธยาศัย ซึ่งจะเป็นการปูพื้นฐานให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ในที่สุด
แนวโน้มของ e-Learning
ในอนาคตอันใกล้การเรียนแบบ e-Learning ในเมืองไทยจะต้องมีมากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ในระยะยาวและได้รับความนิยมในต่างประเทศ เพราะข้อได้เปรียบของ e-Learning คือ ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ใช้งานง่าย การปรับเปลี่ยนเนื้อหาทำได้ไม่ยาก สามารถกระจายความรู้ได้รวดเร็ว และช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้สอน
สำหรับประเทศไทยที่ยังเป็นอุปสรรคสำหรับการเรียนการสอนแบบนี้คือ ค่านิยมและความมีวินัยของผู้เรียน ในความรู้สึกของคนไทยยังต้องการให้มีอาจารย์เป็นผู้สอนเพราะจะยังไม่คุ้นชินกับการเรียนด้วยตนเอง ต้องมีอาจารย์เป็นผู้หยิบยื่นข้อมูลให้ รวมทั้งเรื่องมีวินัยในการเรียนที่ต้องปลูกฝังและใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง จึงจะทำให้การเรียนแบบนี้ประสบผลสำเร็จได้ นอกจากนี้การสอนของอาจารย์ก็เป็นจุดหนึ่งที่ต้องใส่ใจในยุคปฏิรูปการศึกษาอาจารย์จำเป็นต้องปฏิรูปการสอนด้วยต้องคำนึงถึงผุ้เรียนให้มากขึ้น มีการเตรียมเนื้อหาการสอน ใช้วิธีการสอนที่น่าสนใจและเข้าใจง่าย “ การใช้ e-Learning จะเป็นการเสริมการเรียนการสอนในห้องเรียนให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น แต่คงไม่สามารถให้เรียนแบบ e-Learning ทั้ง 100% เพราะการเรียนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แม้จะมีข้อดีมากมาย แต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง การเรียนในห้อง เรียนแม้จะมีข้อด้อย แต่ก็มีข้อดีหลายข้อ ทางออกที่ดี คือ น่าจะเลือกใช้ประโยชน์จาก e-Learning เพื่อเติมช่องว่างการเรียนการสอนในห้องเรียนและกระตุ้นการเรียนรู้แบบใหม่ในยุคข้อมูลข่าวสารที่มีเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้มีคุณภาพมากขึ้น ”
ที่มา http://www.e-lat.or.th/joomla/index.php/Th/home-th/80-e-learning-reports/76-2012-05-22-08-25-31
Comments
Post a Comment